วันจันทร์ที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2554

ลักษณะการใช้ภาษาในชีวิตประจำวัน

            ภาษาที่ใช้สื่อสารกันในชีวิตประจำวันนั้นมีลักษณะแตกต่างกันไปตามกาลเทศะ เพศ อายุ สถานะทางสังคม ฯลฯ นักภาษาศาสตร์สังคมเรียกภาษาที่มีลักษณะแตกต่างกันนี้ว่า วิธภาษา (language variety) ซึ่งหมายถึง “ชนิดต่างๆ ของภาษาใดภาษาหนึ่ง” เช่น ภาษาถิ่น ภาษาวัยรุ่น ภาษาโฆษณา ฯลฯ
            วิธภาษาแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ ประเภทที่หนึ่งคือ วิธภาษาที่แตกต่างกันโดยลักษณะทางสังคมของผู้พูด เช่น เพศ อายุ ถิ่นที่อยู่ ชั้นทางสังคม ฯลฯ เรียกว่า วิธภาษาสังคม ส่วนประเภทที่สองคือ วิธภาษาที่แตกต่างกัน โดยสถานการณ์การใช้หรือหน้าที่ เช่น วิธภาษาข่าว มีหน้าที่เสนอข่าว วิธภาษากฎหมาย ใช้ในการเขียนกฎหมาย และวิธภาษาโฆษณา มีหน้าที่เฉพาะคือใช้ในการโฆษณา เป็นต้น วิธภาษาประเภทที่ นี้ รวมเรียกว่า วิธภาษาหน้าที่ หรือที่เรียกว่า ทำเนียบภาษา” ดังที่กล่าวไว้แล้วข้างต้นนั่นเอง
            ภาษาไทยมีทำเนียบภาษาที่ดูเหมือนว่าจะไม่แตกต่างจากภาษาอื่นๆ มากนัก ยกเว้นในเรื่องการใช้ราชาศัพท์ ทำเนียบภาษาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการสื่อสารในชีวิตประจำวันก็คือ ทำเนียบภาษาที่เกิดจากการใช้ภาษาตามสถานการณ์ เช่น ภาษาที่ใช้ในพิธีรีตอง ภาษาที่ใช้ในการบรรยายในชั้นเรียน ฯลฯ ทำเนียบภาษาที่เกิดจากวัตถุประสงค์ที่ต่างกัน เช่น ภาษาโฆษณา ภาษากฎหมาย ฯลฯ และทำเนียบภาษาที่เกิดจากการใช้สื่อต่างประเภทกัน เช่น ภาษาในโทรเลข โทรสาร โทรศัพท์ ฯลฯ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น