วันอังคารที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2554

การเปลี่ยนแปลงของภาษาในสังคมไทย

            การเปลี่ยนแปลงของภาษา หมายถึงการแปรไปตามกาลเวลา มีทั้งในด้านเสียง คำ และประโยค
การเปลี่ยนแปลงเสียง 
  ในสมัยสุโขทัยใช้ว่า “โสง” ปัจจุบันใช้ว่า “สอง” เช่น  “ตูพี่น้องท้องเดียวห้าคน ผู้ชายสาม ผู้หญิงโสง”  
  ในสมัยสุโขทัยใช้ว่า “โอย” ปัจจุบันใช้ว่า “อวย” (หมายถึง “ให้”) เช่น “เมืองสุโขทัยนี้มักทาน มักทรงศีล มักโอยทาน”
การเปลี่ยนแปลงคำ 
  ในสมัยสุโขทัยใช้ว่า “ตู” ปัจจุบันใช้ว่า “เรา” เช่น “ตูพี่น้องท้องเดียวห้าคน ผู้ชายสาม ผู้หญิงโสง”
คำว่า “ตู” นี้ ในสมัยสุโขทัยเป็นสรรพนามบุรุษที่ 1 พหูพจน์ หมายถึง “เราซึ่งเป็นฝ่ายผู้พูดไม่รวมผู้ฟัง” แต่ในสมัยปัจจุบัน คำว่า “เรา” หมายถึง “คำใช้แทนชื่อคนหลายคนซึ่งรวมทั้งผู้พูดด้วย”
  ในสมัยสุโขทัย พระมหากษัตริย์ทรงใช้สรรพนามบุรุษที่ 1 ว่า “กู” แต่ปัจจุบันทรงใช้ว่า “ข้าพเจ้า” เช่น  “พ่อกูชื่อศรีอินทราทิตย์ แม่กูชื่อนางเสือง”
  ในสมัยก่อนคำที่หมายถึง “คนรัก” ใช้ว่า “ชิ้น” แต่ในปัจจุบันใช้ว่า “แฟน”
การเปลี่ยนแปลงประโยค 
  ในสมัยสุโขทัยใช้ว่า “พี่กูตายจึงได้เมืองแก่กูทังกลม” ประโยคนี้อาจะเขียนใหม่ตามลักษณะประโยคปัจจุบันได้ว่า “พี่ข้าพเจ้าตาย ข้าพเจ้าจึงได้เมืองทั้งหมด”
      จากตัวอย่างข้างต้นจะเห็นได้ว่า การแปรของภาษาในด้านเสียง คำ และประโยคนั้นไม่มีผลทางด้านความหมายมากนัก แต่จะเกี่ยวข้องกับสถานการณ์ที่ใช้มากกว่าอย่างอื่น ส่วนเรื่องการเปลี่ยนแปลงที่เกี่ยวข้องกับความหมายมากที่สุดคือการเปลี่ยนแปลงในด้านคำ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น