วันอังคารที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2554

การเปลี่ยนแปลงของภาษา
                การเปลี่ยนแปลงของภาษามีสาเหตุสำคัญ 2 ประการ คือ การเปลี่ยนแปลงที่เกิดจากตัวภาษาเอง และการเปลี่ยนแปลงจากภายนอก
                การเปลี่ยนแปลงที่เกิดจากตัวภาษาเองเป็นการเปลี่ยนแปลงที่เกิดตามธรรมชาติ และตามกาลเวลา ภาษาทุกภาษาในโลกจะเปลี่ยนแปลงเสมอเมื่อกาลเวลาผ่านไป ดังเช่นที่ภาษาไทยในปัจจุบันมีความแตกต่างจากภาษาไทยในสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช
                ส่วนการเปลี่ยนแปลงของภาษาที่เกิดจากปัจจัยภายนอกนั้นอาจเกิดจากสาเหตุหลายประการ ซึ่งล้วนแต่เป็นปัจจัยทางสังคม เช่น การอพยพย้ายถิ่น การติดต่อค้าขาย การไปมาหาสู่  การแต่งงานข้ามชาติ การตกเป็นอาณานิคม ในปัจจุบันนี้จะเห็นได้อย่างชัดเจนว่า เมื่อสังคมมีการเปลี่ยนแปลง เช่น ได้รับวัฒนธรรมตะวันตกทั้งในด้านการเมือง เศรษฐกิจ เทคโนโลยี และวีถีความเป็นอยู่ ภาษาในสังคมก็ย่อมต้องขยายตัวไปตามความเปลี่ยนแปลงนี้ด้วย
                การเปลี่ยนแปลงของภาษาอาจจะพิจารณาได้จากมุมมอง 2 มิติ
คือ มิติของ การลู่ออกของภาษา (linguistic divergence) และมิติของ การลู่เข้าของภาษา (linguistic convergnece)
การลู่ออกของภาษา
                การลู่ออกของภาษา หมายถึงการที่ภาษาใดภาษาหนึ่งแตกตัวกลายเป็นภาษาย่อยหลายภาษาหรือการที่ภาษาย่อยต่างๆ ของภาษาใดภาษาหนึ่งพัฒนาความแตกต่างจากกันและกัน จนในที่ก็ไม่เข้าใจกันจนกลายเป็นคนละภาษา สาเหตุของการลู่ออกของภาษาได้แก่ การอพยพย้ายถิ่น หรือการขาดการติดต่อสื่อสารของผู้พูดภาษา
                การลู่ออกของภาษาเน้นการเปลี่ยนแปลงของภาษาที่เกิดจากตัวของมันเอง เมื่อผู้พูดอยู่ห่างกัน ภาษาที่พูดก็พัฒนาไปคนละทาง เวลายิ่งผ่านไป ก็ยิ่งแตกต่างกันมากขึ้น ตัวอย่าง เช่น ภาษาย่อยต่างๆ ของประเทศอังกฤษ ภาษาฝรั่งเศสในประเทศฝรั่งเศสและในประเทศแคนาดา ภาษาไทยในประเทศไทยและในถิ่นชนกลุ่มน้อยในประเทศจีน
การลู่เข้าของภาษา
                การลู่เข้าของภาษา หมายถึงการที่ภาษาตั้งแต่ 2 ภาษาขึ้นไปต่างเปลี่ยนแปลงไปจนมีลักษณะคล้ายคลึงกัน สภาวะเช่นนี้เกิดขึ้นเพราะการสัมผัสภาษา ซึ่งเกิดขึ้นในตัวผู้พูดสองภาษาหรือหลายภาษา การใช้ภาษาสองภาษาหรือหลายภาษาสลับกัน ทำให้ภาษาเหล่านั้นยืมลักษณะซึ่งกันและกัน สภาวะเช่นนี้ถ้าเกิดขึ้นกับคนหมู่หมายและเป็นระยะเวลานาน จะทำให้ภาษาเหล่านั้นมีลักษณะคล้ายคลึงกันมากทั้งๆ ที่ไม่ใช่ภาษาตระกูลเดียวกัน เช่น ภาษาไทย ภาษาเขมร ภาษามาเลย์ ลู่เข้าหากันจนมีลักษณะทางไวยากรณ์เหมือนกัน เช่น มีการเรียงคำเหมือนกัน และมีการใช้คำโดด โดยไม่เติมวิภัตติปัจจัย เป็นต้น

ทำเนียบภาษา

ทำเนียบภาษาที่เกิดจากการใช้ภาษาตามสถานการณ์

            ในสถานการณ์ที่ต่างกันนั้นผู้ใช้ภาษาจะใช้ภาษาที่มีรูปแบบแตกต่างกันออกไป รูปแบบหรือลักษณะของวิธภาษาที่แตกต่างกันตามสถานการณ์การใช้ภาษานี้เรียกว่า วัจนลีลา (style / speech style)
            วัจนลีลาในสังคมไทยแบ่งออกได้กว้างๆ เป็น 2 ระดับ คือ วัจนลีลาเป็นทางการ (ระดับสูงและ วัจนลีลาไม่เป็นทางการ (ระดับต่ำวัจนลีลาเป็นทางการ คือรูปแบบภาษาไทยที่มีลักษณะสมบูรณ์ในทุกด้าน เช่น คำว่า มหาวิทยาลัย ออกเสียงอย่างชัดเจนว่า มะ – หา – วิด – ทะ – ยา – ลัย คำว่า อย่างนี้ ออกเสียงอย่างชัดเจนว่า อย่าง – นี้ รูปประโยคก็สมบูรณ์ ไม่มีการละประธาน วัจนลีลาประเภทนี้ใช้ในการกล่าวสุนทรพจน์ กล่าวรายงานต่อบุคคลที่มีสถานภาพทางสังคมสูงกว่า เป็นต้น ส่วนวัจนลีลาไม่เป็นทางการนั้น มีลักษณะตรงกันข้าม คำว่า มหาวิทยาลัย อาจจะกลายเป็น มะหาลัย คำว่า อย่างนี้  อาจจะกลายเป็น ยังงี้ ประโยคที่พูดก็อาจจะละประธานได้ วัจนลีลาประเภทนี้ใช้พูดกับคนที่ใกล้ชิดหรือต่ำกว่า หรือพูดเรื่องเล่นๆ ไม่จริงจัง
            วัจนลีลาที่ต่างกันเกิดจากการใช้รูปภาษาให้ต่างกันตามสถานการณ์ อันเกิดจากปัจจัย 4 ประการรวมกันคือ กาลเทศะ เรื่องที่พูด ความสัมพันธ์ทางสังคมระหว่างผู้พูดและผู้ฟัง และทัศนคติของผู้พูด
  ทำเนียบภาษาที่เกิดจากวัตถุประสงค์ที่ต่างกัน
            ทำเนียบภาษาที่เกิดจากวัตถุประสงค์ที่ต่างกันอาจเรียกว่า ภาษาเฉพาะกิจ” ก็ได้ ตัวอย่างเช่น ภาษาเพื่อขอบคุณ ขอโทษ ขอร้อง ทักทาย อำลา ถามเอาข้อมูล ฯลฯ ภาษาเฉพาะกิจที่เด่นๆ ของไทย ได้แก่ ภาษาที่มีวัตถุประสงค์เพื่อโน้มน้าวชักจูงผู้ฟังให้เชื่อหรือคล้อยตามเรียกว่า ภาษาโฆษณา ภาษาที่มีวัตถุประสงค์เพื่อแจ้งข้อเท็จจริงหรือรายงานเหตุการณ์ตางๆ ซึ่งเรียกว่า ภาษาข่าว ภาษาที่ใช้เพื่อกำหนดกฎเกณฑ์หรือระเบียบให้คนยึดถือปฏิบัติตาม ซึ่งเรียกว่า ภาษากฎหมาย ภาษาที่ใช้เสนอความจริงอย่างชัดเจน ไม่มีอคติ ซึ่งเรียกว่า ภาษาวิทยาศาสตร์ และภาษาที่ใช้เพื่อการค้าขายหรือดำเนินธุรกิจการธุรกิจต่างๆ ซึ่งเรียกว่า ภาษาธุรกิจ เป็นต้น
ทำเนียบภาษาที่เกิดจากการใช้สื่อต่างประเภทกัน
                ภาษาที่ใช้อาจแปรไปตามวิธีการสื่อสารด้วย ภาษาที่สื่อทางโทรศัพท์ โทรเลข โทรสาร จดหมาย หรือพูดตัวต่อตัวย่อมมีลักษณะต่างกัน เพราะสื่อเป็นตัวบังคับให้ภาษาที่ใช้มีรูปลักษณะต่างกันไป  ภาษาโฆษณาอาจจะใช้ภาษาต่างประเทศ และคำสร้างใหม่มากกว่าภาษาประเภทอื่น เพราะต้องการโน้มน้าวผู้บริโภค ภาษาที่ใช้ทางโทรศัพท์อาจจะเยิ่นเย้อและใช้ประโยคซ้ำมากกว่าการพูดกันต่อหน้า เพราะเป็นการสื่อชนิดที่ไม่เห็นหน้ากัน ในขณะเดียวกัน การใช้ภาษาในการเขียนจดหมาย แม้จะใช้ภาษาพูด แต่เนื่องจากมีเวลาคิดมากกว่า จึงมีภาษาเขียนเข้ามาปะปน ส่วนภาษาในโทรเลขจะมีลักษณะสั้นพอได้ใจความ ในปัจจุบันแม้จะไม่มีผู้นิยมใช้โทรเลขแล้ว แต่ลักษณะภาษาที่ใช้ก็ยังติดเข้ามาในสื่อแบบใหม่ นั่นคือ การสื่อสารทางอีเมล หรือ ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งมีลักษณะสั้น กระชับ
                ในข้อที่ว่าด้วยเรื่องการใช้คำนั้น จะเห็นได้ว่าการแปรเสียงในคำ และการเปลี่ยนแปลงคำนั้น แม้บางเรื่องจะเป็นธรรมชาติของภาษา แต่เมื่อจะนำมาใช้ในทำเนียบภาษาประเภทต่างๆ ก็จำเป็นต้องพิจารณาให้เหมาะสมด้วย ยกเว้นบางคำซึ่งได้รับการยอมรับให้เป็นภาษาที่ใช้ในปัจจุบันแล้ว เช่น ใคร ไหน ตะขาบ สะดือ ตะไคร้ มะขาม อะไร ฯลฯ

การแปรเสียง

            คำซึ่งใช้สื่อสารกันอยู่ในชีวิตประจำวันนั้นในทางสัทศาสตร์าอาจจะมีการแปรเสียงได้หลายแบบ ดังนี้
การแปรเสียงแบบกลมกลืนเสียง (assimilation)
                        การแปรเสียงแบบนี้หมายถึงการเปลี่ยนแปลงเสียงลักษณะหนึ่งที่เกิดขึ้นกับเสียงที่อยู่ใกล้กัน โดยเสียงหนึ่งมีอิทธิพลต่ออีกเสียงหนึ่ง โดยทั่วไปเกิดขึ้นที่ช่วงต่อระหว่างพยางค์ เช่น อย่างไร กลายเป็น ยังไง
            การกลมกลืนเสียงในทำนองนี้ยังปรากฏในคำไทยอื่นๆ อีกหลายคำ เช่น
            ก้นโค้ง              กลายเป็น           ก้งโค้ง
            กุ้งก้ามคราม        กลายเป็น           กุ้มก้ามกราม
            คนไร                กลายเป็น           ใคร
            ถ้วยชามรามไห   กลายเป็น           ถ้วยชามรามไหม
            ทำไร                 กลายเป็น           ทำไม
            บังโคลน            กลายเป็น           บังโกลน
            พรุ่กนี้               กลายเป็น           พรุ่งนี้
            ฝ่ายเดียว            กลายเป็น           ถ่ายเดียว
            วันยันค่ำ            กลายเป็น           วันยังค่ำ
            สิบเอ็ด               กลายเป็น           สิบเบ็ด
            หนไร                กลายเป็น           ไหน
            หรือไม่              กลายเป็น           ไหม
            อกตรม              กลายเป็น           อกกรม
            อันคั่นคู่             กลายเป็น           อังคั่นคู่
            อิ่มปี้พีมัน           กลายเป็น           อิ่มหมีพีมัน

การแปรเสียงแบบผลักเสียง (dissimilation)
            การแปรเสียงแบบนี้เป็นลักษณะที่ตรงข้ามกับการกลมกลืนเสียง คือการทำให้เสียงที่เหมือนกับแตกต่างกัน เช่น
            คำแหง              กลายเป็น           กำแหง
            คุมเหง               กลายเป็น           กุมเหง
            ทั้งนี้เพราะเสียง [ในพยางค์ที่สองผลักเสียง [ในพยางค์แรกให้หายไป
            พยัญชนะอย่าง ข ค ฉ ช ถ ท ผ พ มีเสียง ห ผสมอยู่ด้วย จึงเรียกว่า พยัญชนะเสียงหนัก พยัญชนะเหล่านี้แตกต่างจากพยัญชนะอย่าง ก จ ต ป ตรงที่ว่า พยัญชนะกลุ่มหลังนี้เวลาออกเสียงไม่ต้องหายใจแรงๆ อย่างพวกแรก ถือว่าเป็นพยัญชนะเสียงเบา หรือกล่าวอีกอย่างหนึ่งก็คือ ข ค คือ ก ห ฉ ช คือ จ ห  ถ ท คือ ต ห และ ผ พ คือ ป ห เมื่อการออกเสียงพยัญชนะเสียงหนักดังกล่าวต้องหายใจแรง บางทีการออกเสียงจึงฟังไม่ชัดเจน โดยเฉพาะเมื่อพูดตามสบายเป็นต้นว่า
            การออกเสียงพยัญชนะเสียงหนักเป็นเสียงเบา
                        ชมพู                 ออกเสียงเป็น      จมพู
                        ชมพู่                 ออกเสียงเป็น      จมพู่
                        ข่มเหง               ออกเสียงเป็น      กุมเหง
                        คุมฝอย              ออกเสียงเป็น      กุมฝอย
            ออกเสียงแต่ ห พยัญชนะเสียงเบาหายไป
            ครับ                  ออกเสียงเป็น      ฮะ
            ที่กลับกันก็มีคือ
                        กี่                      ออกเสียงเป็น      ขี่
                        กบฎ                  ออกเสียงเป็น      ขบถ
                        ชักกะเย่อ           ออกเสียงเป็น      ชักคะเย่อ
                        กระยาสารท       ออกเสียงเป็น      คยาสาด

การแปรเสียงแบบลดหน่วยเสียง (haplology)
            การแปรเสียงแบบนี้เกิดจากการตัดเสียงพยัญชนะหรือสระบางเสียงออกไปหรือนำเสียงอื่นเข้ามาแทนที่ เมื่อไม่เน้นเสียงพยางค์นั้น เช่น
            คำว่า film จากภาษาอังกฤษ เมื่อมาสู่มาภาษาไทย คนไทยออกเสียง [lm] ควบกันไม่ได้จึงทำเสียง [อิให้ยาวขึ้น กลายเป็น [อีออกเสียงเป็น [ฟีม]
            ฉันนั้น              ออกเสียงเป็น      ฉะนั้น
            ต้นไคร้              ออกเสียงเป็น      ตะไคร้
            ตัวขาบ               ออกเสียงเป็น      ตะขาบ
            ยับยับ                ออกเสียงเป็น      ยะยับ
            ยายกับตา           ออกเสียงเป็น      ยายกะตา
            รื่นรื่น                ออกเสียงเป็น      ระรื่น
            สายดือ               ออกเสียงเป็น      สะดือ
            หมากขาม           ออกเสียงเป็น      มะขาม
            อันไร                ออกเสียงเป็น      อะไร
            อีกประการหนึ่ง  ออกเสียงเป็น      อนึ่ง

การแปรเสียงแบบเพิ่มหน่วยเสียง (addition of phonemes)
            การแปรเสียงแบบนี้เกิดจากการนิยมความไพเราะในการออกเสียงคำสามพยางค์จากภาษาบาลีสันสกฤต ซึ่งแพร่มาถึงคำในภาษาไทยด้วย คำสองพยางค์จึงกลายเป็นสามพยางค์ โดยการนำเอาเสียงสะกดในพยางค์แรกเป็นเสียงพยัญชนะต้นตามด้วย [อะเป็นพยางค์ที่สองเติมเข้าไป เช่น
            ซังตาย               ออกเสียงเป็น      ซังกะตาย
            สักเดี๋ยว             ออกเสียงเป็น      สักกะเดี๋ยว
            ตกใจ                 ออกเสียงเป็น      ตกกะใจ หรือต๊กกะใจ
            นกยาง               ออกเสียงเป็น      นกกะยาง
            นัยนี้                  ออกเสียงเป็น      นัยยะนี้
            บาดจิต               ออกเสียงเป็น      บาดทะจิต
            บานโรค                        ออกเสียงเป็น      บานทะโรค
            ยมบาล               ออกเสียงเป็น      ยมพบาล
            สักนิด               ออกเสียงเป็น      สักกะนิด
            สักหน่อย           ออกเสียงเป็น      สักกะหน่อย
            หกล้ม                ออกเสียงเป็น      หกกะล้ม

การแปรเสียงแบบสับเสียง (meththesis)
            การแปรเสียงแบบนี้เกิดจากการสับที่ของหน่วยเสียงกับเสียงที่ตามมา เช่นตะกร้อ สับเสียง เป็น กระต้อ เครื่องมือดับไฟมีด้ามยาวเช่นเดียวกับตะกร้อสอยผลไม้” ตะกรุด สับเสียงเป็น กระตรุด หรือ กะตุด มะละกอ สับเสียงเป็น ละมะกอ พูดแถบตำบลเกาะเกร็ดและบางส่วนของอำเภอปากเกร็ด นนทบุรี นุ่ม สับเสียงเป็น มุ่น พบในวรรณคดีไทย ขลา ในภาษาเขมร หมายถึง เสือ” สับเสียงเป็น ขาล หมายถึง ปีนักษัตรที่มีเสือเป็นเครื่องหมาย สาวสะ ใน แม่ศรีสาวสะ ก็น่าจะเป็นการสับเสียงจาก สะสาว ซึ่งเป็นการซ้ำคำ สาวสาว แล้วก่อนเป็น สะสาว

การแปรเสียงแบบทำให้เป็นเสียงที่เพดานแข็ง (palatalization)
            การแปรเสียงแบบนี้เกิดจากการเปลี่ยนเสียงจากมีฐานที่ปุ่มเหงือกไปยังฐานที่เพดานแข็งในคำบางคำในภาษาไทย เช่น เชียว มาจาก ทีเดียว
            ขอให้สังเกตว่าคำว่า ทีเดียว นี้ บางครั้งก็กลายเป็น เทียว ในลักษณะกลมกลืนเสียง

การแปรเสียงแบบเปลี่ยนเสียงสระภายในคำ (internal change)
            การแปรเสียงแบบนี้เกิดจากการเปลี่ยนแปลงภายในคำ ซึ่งเกิดขึ้นได้ทั้งการเปลี่ยนแปลงเสียงพยัญชนะและเสียงสระ เช่น
            ข้างนอก            ออกเสียงเป็น      หั้งนอก
            เข้ามาเถิด           ออกเสียงเป็น      ข้ามาเหอะ
            คึก                    ออกเสียงเป็น      ฮึก
            ทั้งสามกรณีเป็นการลดส่วนของเสียงพยัญชนะให้เหลือไว้แต่เสียงหนัก [ในภาษาไทยนั้นเมื่อคำหรือพยางค์ใดไม่ออกเสียงเน้น เสียงของสระนั้นก็อาจจะเปลี่ยนเป็น [อะเช่น
            คุณจะไปไหม     ออกเสียงเป็น      คุณจะไปมะ
            ตั้งแต่เช้า            ออกเสียงเป็น      ตั้งตะเช้า
            เมื่อแต่กี้             ออกเสียงเป็น      เมื่อตะกี้

การแปรงเสียงแบบเสียงเลื่อนรวม (fusion)
            การแปรเสียงแบบนี้เกิดจากการที่พยัญชนะสุดท้ายของคำหน้าเลื่อนรวมเข้ากับเสียง [ของคำถัดไป เช่น หนวกหู กลายเป็น หนวกขู โดยที่ [ซึ่งเป็นเสียงสุดท้ายของ หนวก รวมเข้ากับ [ในคำว่า หู เกิดหน่วยเสียงใหม่ขึ้น นั่นคือ ค หรือ ข
            ขอให้สังเกตว่า หนวกขู อาจจะเปลี่ยนไปเป็น หนกขู เพราะการเปลี่ยนเสียงสระภายในคำดังกล่าวไว้ในข้อ ชก็ได้
            จากลักษณะการแปรเสียงที่กล่าวไว้ในข้อ กถึง ซทำให้อธิบายปรากฏการณ์ดังต่อไปนี้ได้ดังนี้
            ดิฉัน แปรเสียงเป็น ดิชั้น (เน้นพยางค์หลังและในที่สุดก็กลายเป็น เดี๊ยน เพราะการลดหน่วยเสียง โดยที่เสียง [หายไป ทำให้สระจากพยางค์หน้าและพยางค์หลังรวมกันเป็นสระผสมในกรณีที่ ดิฉัน กลายเป็น ดั้น ไปนั้นก็เกิดจากการลดหน่วยเสียงเช่นกัน โดยที่สระหน้าหายไปพร้อมกับเสียง [และกรณีที่ ดิฉัน กลายเป็น อะฮั้น นั้นก็เกิดจาการลดเสียงพยางค์หน้าลงเหลือ อะ และลดเสียงลมหายใจของพยางค์หลัง ฉัน หรือ ชั้น จึงกลายเป็น ฮั้น
            ครับ แปรเสียงเป็น คับ เนื่องจากไม่ออกเสียงควบกล้ำ จากนั้นลดเสียงลมหายใจออกไปจึงกลายเป็น ฮับ และลดเสียงตัวสะกดลงไปอีกจึงกลายเป็น ฮะ สำหรับคนบางกลุ่มอาจจะยืดเสียงให้ยาวขึ้น จึงกลายเป็น ฮ้า
            มหาวิทยาลัย ลดเสียงลงไปกลายเป็น มหาทลัย (4 พยางค์หรือ มหาลัย (3 พยางค์จนที่สุดกลายเป็น หมาลัย (2 พยางค์)
            โรงพยาบาล ลดเสียงลงไปกลายเป็น โรงพยาบาล (3 พยางค์)
            พิจารณา ลดเสียงลงไปกลายเป็น พิณา (2 พยางค์)

การเปลี่ยนแปลงของภาษาในสังคมไทย

            การเปลี่ยนแปลงของภาษา หมายถึงการแปรไปตามกาลเวลา มีทั้งในด้านเสียง คำ และประโยค
การเปลี่ยนแปลงเสียง 
  ในสมัยสุโขทัยใช้ว่า “โสง” ปัจจุบันใช้ว่า “สอง” เช่น  “ตูพี่น้องท้องเดียวห้าคน ผู้ชายสาม ผู้หญิงโสง”  
  ในสมัยสุโขทัยใช้ว่า “โอย” ปัจจุบันใช้ว่า “อวย” (หมายถึง “ให้”) เช่น “เมืองสุโขทัยนี้มักทาน มักทรงศีล มักโอยทาน”
การเปลี่ยนแปลงคำ 
  ในสมัยสุโขทัยใช้ว่า “ตู” ปัจจุบันใช้ว่า “เรา” เช่น “ตูพี่น้องท้องเดียวห้าคน ผู้ชายสาม ผู้หญิงโสง”
คำว่า “ตู” นี้ ในสมัยสุโขทัยเป็นสรรพนามบุรุษที่ 1 พหูพจน์ หมายถึง “เราซึ่งเป็นฝ่ายผู้พูดไม่รวมผู้ฟัง” แต่ในสมัยปัจจุบัน คำว่า “เรา” หมายถึง “คำใช้แทนชื่อคนหลายคนซึ่งรวมทั้งผู้พูดด้วย”
  ในสมัยสุโขทัย พระมหากษัตริย์ทรงใช้สรรพนามบุรุษที่ 1 ว่า “กู” แต่ปัจจุบันทรงใช้ว่า “ข้าพเจ้า” เช่น  “พ่อกูชื่อศรีอินทราทิตย์ แม่กูชื่อนางเสือง”
  ในสมัยก่อนคำที่หมายถึง “คนรัก” ใช้ว่า “ชิ้น” แต่ในปัจจุบันใช้ว่า “แฟน”
การเปลี่ยนแปลงประโยค 
  ในสมัยสุโขทัยใช้ว่า “พี่กูตายจึงได้เมืองแก่กูทังกลม” ประโยคนี้อาจะเขียนใหม่ตามลักษณะประโยคปัจจุบันได้ว่า “พี่ข้าพเจ้าตาย ข้าพเจ้าจึงได้เมืองทั้งหมด”
      จากตัวอย่างข้างต้นจะเห็นได้ว่า การแปรของภาษาในด้านเสียง คำ และประโยคนั้นไม่มีผลทางด้านความหมายมากนัก แต่จะเกี่ยวข้องกับสถานการณ์ที่ใช้มากกว่าอย่างอื่น ส่วนเรื่องการเปลี่ยนแปลงที่เกี่ยวข้องกับความหมายมากที่สุดคือการเปลี่ยนแปลงในด้านคำ

วันจันทร์ที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2554

ลักษณะการใช้ภาษาในชีวิตประจำวัน

            ภาษาที่ใช้สื่อสารกันในชีวิตประจำวันนั้นมีลักษณะแตกต่างกันไปตามกาลเทศะ เพศ อายุ สถานะทางสังคม ฯลฯ นักภาษาศาสตร์สังคมเรียกภาษาที่มีลักษณะแตกต่างกันนี้ว่า วิธภาษา (language variety) ซึ่งหมายถึง “ชนิดต่างๆ ของภาษาใดภาษาหนึ่ง” เช่น ภาษาถิ่น ภาษาวัยรุ่น ภาษาโฆษณา ฯลฯ
            วิธภาษาแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ ประเภทที่หนึ่งคือ วิธภาษาที่แตกต่างกันโดยลักษณะทางสังคมของผู้พูด เช่น เพศ อายุ ถิ่นที่อยู่ ชั้นทางสังคม ฯลฯ เรียกว่า วิธภาษาสังคม ส่วนประเภทที่สองคือ วิธภาษาที่แตกต่างกัน โดยสถานการณ์การใช้หรือหน้าที่ เช่น วิธภาษาข่าว มีหน้าที่เสนอข่าว วิธภาษากฎหมาย ใช้ในการเขียนกฎหมาย และวิธภาษาโฆษณา มีหน้าที่เฉพาะคือใช้ในการโฆษณา เป็นต้น วิธภาษาประเภทที่ นี้ รวมเรียกว่า วิธภาษาหน้าที่ หรือที่เรียกว่า ทำเนียบภาษา” ดังที่กล่าวไว้แล้วข้างต้นนั่นเอง
            ภาษาไทยมีทำเนียบภาษาที่ดูเหมือนว่าจะไม่แตกต่างจากภาษาอื่นๆ มากนัก ยกเว้นในเรื่องการใช้ราชาศัพท์ ทำเนียบภาษาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการสื่อสารในชีวิตประจำวันก็คือ ทำเนียบภาษาที่เกิดจากการใช้ภาษาตามสถานการณ์ เช่น ภาษาที่ใช้ในพิธีรีตอง ภาษาที่ใช้ในการบรรยายในชั้นเรียน ฯลฯ ทำเนียบภาษาที่เกิดจากวัตถุประสงค์ที่ต่างกัน เช่น ภาษาโฆษณา ภาษากฎหมาย ฯลฯ และทำเนียบภาษาที่เกิดจากการใช้สื่อต่างประเภทกัน เช่น ภาษาในโทรเลข โทรสาร โทรศัพท์ ฯลฯ